เหรียญพระพุทธชินราช อินโดจีน 2485

ในปี พ.ศ. 2485 พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการสร้างพระเครื่องพระพุทธชินราชชุดนี้ขึ้น โดยยึดเอาพระพุทธลักษณะจากองค์พระพุทธชินราชจากจังหวัดพิษณุโลกเป็นองค์ต้น แบบ มีการสร้างแบ่งเป็น 3 ชนิดด้วยกัน ประกอบด้วย

1. พระบูชา สร้างด้วยวิธีการหล่อเป็นพระพุทธรูปขัดเงา มีซุ้มเรือนแก้วเหมือนพระพุทธชิน-ราชองค์ปัจจุบัน
2. พระพุทธชินราชลอยองค์ขนาดคล้องคอ
3. ประเภทเหรียญพระพุทธชินราชอินโดจีน รูปเสมาซึ่งสร้าง ด้วยวิธการปั๊มประกบ 2 ด้านมีลักษณะเป็นเหรียญรูปเสมาด้านหน้าเป็นรูปองค์พระพุทธชินราชประทับนั่ง ในซุ้มเรือนแก้วส่วนด้านหลังของเหรียญจะเป็นรูปดอกเลาบานประตูพระวิหารวัด พระศรีรัตนมหาธาตุ
แยกแบ่งเป็น 2 พิมพ์หลักๆ คือ

  • สระอะจุด
  • สระอะขีด

สถานที่จัดสร้าง
พระพุทธชินราชอินโดจีน จัดพิธีการสร้างขึ้นที่วัดสุทัศน์ และปลุกเสกในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ ในวันที่ 21 มีนาคม เสาร์ 5 (วันเสาร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5) ปี พ.ศ. 2485 ดำเนินการสร้างและออกแบบโดยกรมศิลปากร โดยมีท่านเจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราชแพ เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นผู้ดำเนินการ ได้ทำพิธีลงทองถูกต้องตามตำราการสร้างพระกริ่งของวัดสุทัศน์ทุกประการ นอกจากนั้นยังมีแผ่นทองจากพระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีอีกจำนวนหนึ่ง จึงนับได้ว่าเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์พิธีหนึ่ง ซึ่งเพียบพร้อมไปด้วยพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นจากทั่วประเทศ

พระ พุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ทำพิธีในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2485 ที่วัดสุทัศน์ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชแพ เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์ เป็นแม่งาน และมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังร่วมนั่งปรกปลุกเสก 108 องค์

 

ชี้ตำหนิเหรียญพระพุทธชินราช อินโดจีน 2485

เหรียญพระพุทธชินราช อินโดจีน 2485 เป็นเหรียญที่พระเกจิดอทคอม คิดว่าน่าสะสมบูชาเหรียญหนึ่งของวงการ ปัจจุบันมีเหรียญเก๊มากมาย หลายฝีมือ ต้องระวังเป็นอย่างยิ่งครับ

คุณตูน ปฐมบท เจ้าของเวปไซค์ http://www.a-start.net ผู้เชี่ยวชาญ พระพุทธชินราช อินโดจีน 2485 ได้จำแนก และชี้ตำหนิต่างๆของเหรียญพระพุทธชินราช ได้ดังนี้

 

ตำหนิจุดชี้ขาด เหรียญพระพุทธชินราช อินโดจีน 2485 พิมพ์สระอะจุด (พิมพ์นิยม)

02

บริเวณด้านหน้าเหรียญฯ

1. แม้จะไม่มีหูห่วงดั้งเดิมแบบ “แคปซูล” ให้เห็นก็ตาม แต่แนะนำให้ดูลักษณะของ “หูเหรียญ” ซึ่งถูกปั๊มออกมาตามบล็อกของแม่พิมพ์ มักจะมีรอยกด รอยนูน รอยปลิ้น รอยแบน ฯลฯ แม้แต่ขนาดความกว้างรอบวง “ขอบหูเหรียญ” ก็ชี้เป็นชี้ตายได้ เหมือนเหรียญฯ สระอะขีด ยังไงๆ รูก็ต้องเล็กๆ ขอบก็จะหนาๆ แบบนี้แหละครับ

2. เส้นสายลายแทงในแถบของฐานเสมาตรงจุดนี้ จะมี “เอกลักษณ์” เป็นคลื่นๆ หยักๆ และไม่ราบเรียบเหมือนช่วงอื่นๆ ซึ่งจุดนี้เป็น “จุดตาย” สำคัญหนึ่งอย่างเลย เหมือนเหรียญฯ สระอะขีด

3. ขีดที่เห็นเป็น “รอยร่องเล็ก” ในแนวตั้ง มีให้เห็นไม่มากก็น้อย เพราะเกิดจากแม่พิมพ์ในบล็อกดั้งเดิมเองเช่นกัน อาจจะมีให้เห็นชัดๆ ทั้งสองข้างเลย ลักษณะเหมือนเหรียญฯ สระอะขีด

4. ปลายแหลมสุดที่อยู่ใน “ซุ้มโค้ง” เหนือหัวไหล่นี้ ปลายทั้งข้างจะ “แหลมเรียวสุดถึงยอดโดยไม่แตกเป็นแฉก” ทั้งสองข้าง มีลักษณะตรงกันข้ามกับในเหรีียญฯ สระอะขีด ซึ่งปลายแหลมนี้จะแตกแยกออกเป็นแฉกเหมือน “ลิ้นงู” อย่างเห็นได้ชัดเจน

03

บริเวณด้านหลังเหรียญฯ

1. ร่องรอยของขีดแนวตั้งที่เกิดขึ้น จะมีให้เห็นมากหรือน้อย ก็ถือว่าเป็นตำหนิในพิมพ์แต่เดิมเช่นเดียวกันกับด้านหน้าของเหรียญนะ อาจจะมีให้เห็นชัดๆ ทั้งสองข้างเลยเช่นกัน

2. ลูกศรชี้ให้เห็นถึงที่มาของคำว่า “สระอะจุด” (อีกพิมพ์หนึ่งจะเป็น “สระอะขีด”) และนักสะสมนิยมเล่นเป็นพิมพ์สระอะจุดแบบนี้มากกว่านะครับ

3. ลักษณะของตัวอักษรจะไม่แตกซ้อนกัน และมีความคมชัดลึกมากกว่าในเหรียญฯ สระอะขีด อย่างเห็นได้ชัดเจนมาก รวมถึงลักษณะของ “ตัวยันต์” ก็ดูเหมือนกัน

4. โปรดกรุณาพิจารณาเรื่องของ “ขอบหูเหรียญ” ให้แม่นๆ เพราะสามารถชี้เป็นชี้ตายได้จริงๆ

5. ลักษณะของปลายล่างส่วนของ “อกเลา” ตรงจุดนี้ จะมีลักษณะที่แหลมและไม่แตกปลายเลย อันตรงข้ามกับเหรียญฯ สระอะขีด ซึ่งแตกเป็นแฉก และเหลื่อมให้เห็นกันอย่างชัดเจนครับ

 

ตำหนิจุดชี้ขาด เหรียญพระพุทธชินราช อินโดจีน 2485 พิมพ์สระอะขีด

04

บริเวณด้านหน้าเหรียญ ฯ

1. หูห่วงดั้งเดิมจริงๆ ต้องถูกงอพับปลายติดกันแบบ “แคปซูล”

2. เส้นสายลายแทงในแถบของฐานเสมาตรงจุดนี้ จะมี “เอกลักษณ์” เป็นคลื่นๆ หยักๆ และไม่ราบเรียบเหมือนช่วงอื่นๆ ซึ่งจุดนี้เป็น “จุดตาย” สำคัญหนึ่งอย่างเลยครับ ควรจำไว้ให้ดีๆ

3. ขีดที่เห็นเป็น “รอยร่องเล็ก” ในแนวตั้ง มีให้เห็นไม่มากก็น้อย เพราะเกิดจากแม่พิมพ์ในบล็อกดั้งเดิมเอง

4. ปลายกนกของซุ้มเรือนแก้วช่วงบนนี้ ซีกขวาองค์พระจะเป็นแนวโค้งๆ กางออกไปเล็กน้อย แต่ซีกซ้ายองค์พระส่วนปลายจะเรียงเป็นแนวระดับหรือเรียงแถวที่เท่าๆ กันเกือบจะตรง และตัวกนก 3 ตัวล่างของซุ้มช่วงล่างนี้มีขนาดกว้างและยาวที่ต่างกันด้วย

5. ในองค์ที่ลึกๆ จะเห็น “เส้นพระศอ หรือเส้นคอ” อยู่ครบ 3 เส้น โดยเส้นบนสุดจะหยักๆ เป็นคลื่น แตกต่างจากอีก 2 เส้นด้านล่างถัดลงมานั้น…ดูจะโค้งเว้าเข้ารูปอย่างสวยงามเหลือเกิน

6. “ซุ้มนาค” ทางซีกซ้ายขององค์พระจะมี “ร่อง” หรือ “รอยขาด” ที่ดูเห็นชัดเจนมาก จนรู้สึกว่าไม่ต่อเนื่องซึ่งต่างจากซีกขวาองค์พระชัดเจนจุดนี้ในเหรียญตื้นๆ อาจจะพิจารณายากนะครับ

7. ปลายของฐานบัวรองนั่ง ทางซีกขวาองค์พระจะอยู่ในระดับที่สูงกว่าทางซีกซ้ายเสมอ และปลายฐานบัวในซีกขวานี่เองก็จะมีลักษณะ  “งอนงุ้มโค้งลงมา” มากกว่าตรงปลายทางซีกซ้ายชัดเจน

8. “ลายกนกม้วน” ตรงส่วนของฐานเสมาทั้ง 2 ข้าง (เสมาคว่ำ) มีความแตกต่างกันมาก ทั้ง “ตัวม้วนที่อยู่ตรงใจกลาง” กับ  “จำนวนและขนาดของตัวกนกม้วน” ซึ่งขมวดปมและม้วนขดอยู่ทั้งคู่

9. พื้นผิวแบบนี้มีลักษณะเป็นผิวขรุขระ ไม่เรียบ หรือที่เรียกกันว่า “ผิวทราย” บางคนเรียกว่า “ขี้กลาก”  ซึ่งหลายท่านได้ฟังแล้วก็อาจจะไม่อยากหาเช่าหรือไม่สะสมนะครับ เพราะส่วนใหญ่เข้าใจว่า “ขี้กลาก” จะเกิดจากตัวบล๊อคหรือแม่พิมพ์ที่มีสนิมกิน และนำไปปั๊มทำของเสริมออกมาจำหน่ายกันใหม่ สำหรับเรื่องนี้ในเหรียญอื่นๆ ผมไม่ทราบจริงๆ…แต่ถ้าเหรียญชินราช อินโดจีน 2485 ที่ผมมีอยู่ทั้งหมดคือ แหนบ 1 ชิ้น เข็มกลัด 1 ชิ้น และเหรียญรมดำเดิมๆ  ชิ้นนี้นั้น…ซึ่งทำให้ผมเองยิ่งมีความมั่นใจสูงที่จะเก็บได้สบายใจ ทั้งหมด นะครับ… ใครไม่เล่น ถ้ามีของแท้ๆ ตำหนิถูกต้องครบหมด

05

บริเวณด้านหลังเหรียญ ฯ

1. ร่องรอยของขีดแนวตั้งที่เกิดขึ้น จะมีให้เห็นมากหรือน้อย ก็ถือว่าเป็นตำหนิในพิมพ์แต่เดิมเช่นเดียวกันกับด้านหน้าของเหรียญ

2. จุดนี้ชี้ให้เห็นถึงที่มาของคำว่า “สระอะขีด” โดยมีอีกพิมพ์หนึ่งจะเป็น “สระอะจุด” และนักสะสมได้นำไปเล่นเป็นพิมพ์ที่นิยมกว่าด้วยนะครับ ส่วนลูกศรสีเหลืองนั้น

3. จุดนี้ชี้ให้เห็นถึง  “ลักษณะตัวอักษรที่เหมือนมีร่องหรือซ้อนกันอยู่” ซึ่งลักษณะเช่นนี้ก็เป็นเพราะเหรียญถูกปั๊มจากแม่พิมพ์มาเองนะครับ โดยส่วนนี้ต้องถือว่าเป็น “จุดตาย” ที่สำคัญมากๆ อีกจุดหนึ่งครับ

4. ลักษณะของ “ตัวยันต์” ก็ดูเหมือนมีร่องหรือซ้อนกันอยู่เช่นกัน ในส่วนนี้อยากให้พิจารณาเรื่อง “เส้นวิ่ง” หรือ “ขนแมว” หรือ “สายฝน” หรือ ฯลฯ ดูกันให้ดีๆ ท่านก็จะพบถึง “ความคมชัดลึก” ที่เป็นธรรมชาติที่สุดซึ่งของเก๊หรือของปลอมยังไม่เคยเลียนแบบจุดนี้กันได้ เลยนะครับ

5. นี่แหละ “จุดตาย” อันดับแรกที่ “เซียนตัวจริง” พิจารณากันเสมอครับผม ดูลักษณะของ “หูเหรียญ” ซึ่งถูกปั๊มออกมาตามบล็อกของแม่พิมพ์ มักจะมีรอยกด รอยนูน รอยปลิ้น รอยแบน ฯลฯ แม้แต่มิติของ “ขอบหูเหรียญ” ก็ชี้เป็นชี้ตายได้ (ถ้าเป็นแบบวงกลมดิ๊ก วงกว้างๆ ขอบบางๆ ควรระวังไว้)

6. ความคมกริ๊บ…ของเส้นวิ่ง “สายฝน” ที่เป็นสายๆ ที่เกิดจากการปั๊มจะทำให้เห็นรายละเอียดได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นทั้งแนวขวาง แนวตั้ง หรือ แนวเอียง หรือเฉียงๆ ก็ตาม ล้วนเป็น “ธรรมชาติ” ที่ต้องจดจำไว้

7. กรอบเส้นคู่ของ “อกเลา” เส้นกรอบด้านนอก เป็น “ลักษณะที่ราบๆ เรียบๆ” แต่กรอบด้านในจะมีลักษณะเป็น “เส้นประ” ซึ่งเห็นได้ชัดเจนมาก

นัก สะสมท่านใดที่สนใจหรือยังไม่เคยมีสักเหรียญก็น่าจะลองหาสะสมเอาไว้ บ้างนะครับ…สระอะจะ “ขีด” หรือ “จุด” ก็แล้วแต่ความชอบนะ  ส่วนราคาก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งโดยปกตินักสะสมส่วนใหญ่ก็เล่นแบบ “สระอะจุด” นิยมกว่าและมีราคาแพงกว่า “สระอะขีด” นะครับผม

ที่มา:

http://www.a-start.net/Page3.htm

http://a-start.net/Page4.htm

เหรียญเสมา พระพุทธชินราช อินโดจีน เนื้อทองแดง ปี๒๔๘๕